พระราชประวัติ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระ ปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
ทรงพระราชสมภพ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พุทธศักราช 2495 เวลา 17 นาฬิกา 45 นาที ตรงกับ วันจันทร์ ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 9 ปีมะโรง จัตวาศก อธิกวาร จุลศักราช 1314 นับเป็นปีที่ 7 แห่งการเสด็จขึ้นครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
มีพระเชษฐภคินี 1 พระองค์ คือ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี และพระขนิษฐภคินี 2 พระองค์ คือ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
เมื่อทรงเจริญพระชนมายุได้ 1 เดือน กับ 18 วัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกอบพระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ เมื่อวันที่ 14 และวันที่ 15 สิงหาคม พุทธศักราช 2495 ประกอบพระราชพิธี ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ทั้งพิธีพราหมณ์ พิธีสงฆ์ และถวายแห่กล่อม ในพระราชพิธีนี้ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ได้มีพระลิขิตไปถวายพระพรชัยมงคลในนามแห่งคณะสงฆ์ไทย เนื่องในอภิลักขิตสมัยมหามงคลสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ด้วย
ต่อมาเมื่อทรงเจริญพระชนมายุได้ 1 พรรษา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระราชทานพระนาม ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงเป็นผู้ตั้งถวายตามดวงพระชะตาว่า
สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ
เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ
บรมจักรยาดิศรสันตติวงศ
เทเวศรธำรงสุบริบาล
อภิคุณูประการมหิตลาดุลเดช
ภูมิพลนเรศวรางกูร
กิตติสิริสมบูรณ์สวางควัฒน์
บรมขัตติยราชกุมาร
เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ
บรมจักรยาดิศรสันตติวงศ
เทเวศรธำรงสุบริบาล
อภิคุณูประการมหิตลาดุลเดช
ภูมิพลนเรศวรางกูร
กิตติสิริสมบูรณ์สวางควัฒน์
บรมขัตติยราชกุมาร
ทรงอธิบายเป็นพระมงคลนามตามพระราชตระกูล คือได้อัญเชิญพระนามฉายาในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงเป็นพระไปยิกาธิราช ซึ่งปรากฏในขณะทรงพระผนวชว่า วชิรญาณะ ผนวกกับ อลงกรณ์ จากพระนาม จุฬาลงกรณ์ ของรัชกาลที่ 5
ทรงเข้าศึกษาชั้นอนุบาลปีที่ 1 เมื่อเดือนกันยายน พุทธศักราช 2499 เมื่อพระชนมายุ 4 พรรษา ณ โรงเรียนจิตรลดาชั้นอนุบาล ตั้งอยู่ ณ พระที่นั่งอุดร ในพระราชวังดุสิต ต่อมาโรงเรียนย้ายไปตั้งในบริเวณพระราชฐานสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต ทรงศึกษาจนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จึงเสด็จไปทรงศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ
ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนกันยายน พุทธศักราช 2509 ทรงเข้ารับการศึกษาระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนคิงสมีด เมืองซีฟอร์ด แคว้นชัสเชกส์ ประเทศอังกฤษ และในเดือนกันยายนปีเดียวกันนั้น ได้เสด็จฯไปทรงศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนมิลล์ฟิลด์ เมืองสตรีท แคว้นซัมเมอร์เซท ประเทศอังกฤษ จนถึงเดือนกรกฎาคม พุทธศักราช 2513
เมื่อเดือนสิงหาคม พุทธศักราช 2513 ทรงเข้ารับการศึกษาระดับเตรียมทหารที่โรงเรียนคิงส์ เขตพารามัตตา นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ทรงศึกษาอยู่จนถึงเดือนพฤษภาคม พุทธศักราช 2514
พุทธศักราช 2515 ทรงเข้าศึกษาในวิทยาลัยการทหารชั้นสูงที่วิทยาลัยการทหารดันทรูน กรุงแคนเบอร์รา นับตั้งแต่ภาคแรกแห่งการศึกษาเป็นต้นไป หลักสูตรของวิทยาลัยการทหารแห่งนี้แบ่งออกเป็น 2 ภาค คือ ภาควิชาการทหาร รับผิดชอบและดำเนินการโดยกองทัพบกออสเตรเลีย นักเรียนที่สำเร็จตามหลักสูตรนี้จะได้เป็นนายทหารยศร้อยโท ส่วนอีกภาคหนึ่งเป็นการศึกษาวิชาสามัญ ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลล์ รับผิดชอบการวางหลักสูตร แบ่งออกเป็นสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ อักษรศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ นักเรียนนายร้อยที่ผ่านหลักสูตรดังกล่าวจะได้รับปริญญาตรีตามสาขาวิชาที่เลือกศึกษา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงเลือกศึกษาในสาขาวิชาอักษรศาสตร์
ทรงสำเร็จการศึกษาเมื่อพุทธศักราช 2519
ทรงสำเร็จการศึกษาเมื่อพุทธศักราช 2519
สำหรับการศึกษาอบรมทางการทหาร พุทธศักราช 2519 ทรงเข้ารับการฝึกเพิ่มเติมและทรงศึกษางานด้านการทหารในประเทศออสเตรเลีย โดยทุนของกระทรวงกลาโหม และทรงประจำการ ณ กองปฏิบัติการทางอากาศพิเศษที่นครเพิร์ท รัฐออสเตรเลียตะวันตก ประเทศออสเตรเลีย
เมื่อพุทธศักราช 2515 เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ 20 พรรษา ทรงบรรลุนิติภาวะตามกฎหมาย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตั้งการพระราชพิธีสถาปนาเฉลิมพระนามาภิไธย สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ ให้ดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ตามโบราณขัตติยราชประเพณี
นับแต่ยังทรงพระเยาว์ ทรงมีอุปนิสัยโปรดความมีระเบียบวินัย และสนพระราชหฤทัยในกิจการเกี่ยวกับกองทัพอยู่เสมอ ได้เสด็จไปทรงเยี่ยมที่ตั้งกองทหารหน่วยต่างๆ ทรงเอาพระทัยใส่ในความเป็นอยู่ของทหารและตำรวจเป็นนิจ ด้วยเหตุนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จจากประเทศอังกฤษไปทรงศึกษาต่อในวิชาการทหาร ณ ประเทศออสเตรเลีย
เดือนสิงหาคม พ.ศ.2513 ทรงเข้ารับการศึกษาระดับเตรียมทหารที่โรงเรียนคิงส์ เขตพารามัตตา นครซิดนีย์ ออสเตรเลีย ต่อมาทรงเข้าศึกษาในวิทยาลัยทหารชั้นสูงที่วิทยาลัยการทหารดันทรูน กรุงแคนเบอร์รา ต่อมา พ.ศ.2520-2521 ทรงเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนเสนาธิการทหารบก
พ.ศ.2527-2530 ทรงศึกษาด้านกฎหมาย ทรงได้รับปริญญานิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
พ.ศ.2533 ทรงเข้ารับการศึกษา ณ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรแห่งราชอาณาจักร
พ.ศ.2519 ทรงเข้ารับฝึกเพิ่มเติมและทรงศึกษางานด้านการทหารในประเทศออสเตรเลีย โดยทุนของกระทรวงกลาโหม และทรงประจำการ ณ กองปฏิบัติการทางอากาศพิเศษที่นครเพิร์ท รัฐออสเตรเลียตะวันตก ประเทศออสเตรเลีย ทรงรับการฝึกอบรมหลักสูตรทางการทหารและการบิน ได้แก่ หลักสูตรวิชาอาวุธพิเศษ การทำลายและยุทธวิธีการรบนอกแบบ หลักสูตรต้นหนชั้นสูง หลักสูตรการลาดตระเวนและต้นหนชั้นสูง และหลักสูตรส่งทางอากาศ
ระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ.2522-มกราคม 2523 ทรงเข้าศึกษาหลักสูตร
การบินเฮลิคอปเตอร์โจมตีแบบเอ เอช-1 เอช คอบรา ของบริษัทเบลล์ จำนวนชั่วโมงบิน 1 ชั่วโมง
การบินเฮลิคอปเตอร์โจมตีแบบเอ เอช-1 เอช คอบรา ของบริษัทเบลล์ จำนวนชั่วโมงบิน 1 ชั่วโมง
เดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2523 ทรงเข้าศึกษาหลักสูตรการบินเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปแบบ ยู เอช-1 เอช และเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปแบบยู เอช-1 เอ็น ของบริษัทเบลล์ จำนวนชั่วโมงบิน 249.56 ชั่วโมง
เดือนกันยายน-ตุลาคม ปีเดียวกัน ทรงเข้ารับการศึกษาหลักสูตรการฝึกบินเฮลิคอปเตอร์โจมตีติดอาวุธ ของกองทัพบกไทย จำนวนชั่วโมงบิน 54.50 ชั่วโมง
เดือนธันวาคม 2523-กุมภาพันธ์ 2524 ทรงเข้ารับการศึกษาหลักสูตรการฝึกบินเครื่องบินปีกติดลำตัว แบบ Siai-Marchetti SF 260 MT จำนวนชั่วโมงบิน 172.20 ชั่วโมง
เดือนมีนาคม-กรกฎาคม 2524 ทรงเข้ารับการศึกษาหลักสูตรการฝึกบินเครื่องบินปีกติดลำตัวแบบ Cessna T-37 จำนวนชั่วโมงบิน 240 ชั่วโมง
ทรงยึดแนวทางการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในการดูแลช่วยเหลือราษฎรในเรื่องปัญหาดินและน้ำในลักษณะต่างๆ โดยมีพระราชดำริให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพัฒนาแหล่งน้ำในหลายพื้นที่ เช่น ศูนย์การเรียนรู้และพัฒนาด้านเกษตรกรรมเกษตรกรวิชญา บ้านกองแหะ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ โครงการพัฒนาพื้นที่บ้านกูแบสีรา อ.ยะรัง จ.ปัตตานี การสร้างอ่างเก็บน้ำพร้อมระบบส่งน้ำเพื่อบรรเทาปัญหาขาดแคลนน้ำให้ราษฎรหลายหมู่บ้านใน ต.หนองแคน และ ต.ดงมอน อ.ดงหลวง จ.มุกดาหาร
นับตั้งแต่ พ.ศ.2553 เป็นต้นมา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ได้ทรงทำการบินเที่ยวบินมหากุศลในตำแหน่งนักบินที่ 1 เที่ยวบินพิเศษของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) นำคณะพุทธศาสนิกชนไปสักการะปูชนียสถานสำคัญ ทรงบริจาคพระราชทรัพย์เพื่อประโยชน์ทางศาสนา จึงมีผู้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเงินเพื่อสมทบทุนเพื่อการกุศลอื่นๆ เป็นจำนวนมาก
ซึ่งเมื่อ พ.ศ.2555 เนื่องในโอกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ วันที่ 28 กรกฎาคม 2555 ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงทำการบินเที่ยวบินมหากุศล เส้นทางไปกลับกรุงเทพฯ-ขอนแก่น เที่ยวบินพิเศษ TG 8866 นำคณะพุทธศาสนิกชนจำนวน 113 คน ไปสักการะพระบรมสารีริกธาตุ ณ วัดป่าวิเวกธรรม อ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น รายได้จากการจำหน่ายบัตรและเงินบริจาคสมทบจากผู้มีจิตศรัทธาครั้งนี้ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อสมทบทุน มูลนิธิทุนการศึกษาพระราชทาน สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร (ม.ท.ศ.)
ปี 2558 มีกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นั่นคือเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม มีกิจกรรม Bike for Mom-ปั่นเพื่อแม่ กิจกรรมปั่นจักรยานเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 83 พรรษา 12 สิงหาคม 2558 โดยมีวัตถุประสงค์การจัดงานเพื่อให้พสกนิกรทุกหมู่เหล่าได้แสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ เพื่อเป็นการร่วมแสดงออกของประชาชนถึงความรักที่มีต่อแม่และแม่ของแผ่นดิน เพื่อให้พสกนิกรทุกหมู่เหล่าได้มีโอกาสร่วมกิจกรรมปั่นจักรยานเฉลิมพระเกียรติอย่างทั่วถึง และเสริมสร้างความสามัคคีของคนในชาติ ที่จะร่วมกันจัดกิจกรรมถวายพระพรแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพของประชาชนในการร่วมออกกำลังกาย ทำให้สุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง ปลูกฝังให้ประชาชนรักการออกกำลังกาย และเสริมสร้างความมีน้ำใจเป็นนักกีฬา อีกทั้งได้นำกิจกรรมดังกล่าวไปต่อยอดขยายผลต่อไป
หลังจากนั้น วันที่ 11 ธันวาคม 2558 มีกิจกรรม ปั่นเพื่อพ่อ BIKE FOR DAD เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 88 พรรษา 5 ธันวาคม 2558 และทรงนำขบวนพสกนิกรผู้เข้าร่วมกิจกรรมปั่นจักรยานเฉลิมพระเกียรติฯ โดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงมีพระราชปณิธานที่จัดกิจกรรมจักรยานถวายพระเกียรติ และถวายความจงรักภักดีเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ร่วมกับพสกนิกรชาวไทย เพื่อถวายเป็นราชสดุดี โดยเป็นประธานนำขบวนในวันศุกร์ที่ 11 ธันวาคม 2558 เพื่อเฉลิมพระเกียรติและแสดงความจงรักภักดี และกตัญญูกตเวทีต่อพระมหากษัตริย์ ร่วมเทิดพระคุณพ่อและ เพื่อความสามัคคีของชาวไทยทั้งชาติ
นี่คือส่วนหนึ่งของพระราชกรณียกิจใน สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ที่ทรงมีคุณูปการยิ่งใหญ่ต่อชาวไทยตลอดมา
นี่คือส่วนหนึ่งของพระราชกรณียกิจใน สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ที่ทรงมีคุณูปการยิ่งใหญ่ต่อชาวไทยตลอดมา
ภาพประกอบจาก หนังสือ “๗๐ สัมพัจฉร์ฉลองรัชธรรมราชา” กวีนิพนธ์เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในโอกาสการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๗๐ ปี พิมพ์ครั้งที่ 1 พุทธศักราช 2559 โดยกรมศิลปากร